ReadyPlanet.com
บริหารบัญชี

Business Advance
พัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า
(ภาคปฏิบัติ)

ประสบการณ์โดยตรงล้วนๆ ที่นำมาแบ่งปันให้กับท่านที่กำลังมีปัญหาการดำเนินธุรกิจและผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญมาก 4 เรื่อง คือ

ทำธุรกิจให้อยู่รอด -การตลาด
ทำธุรกิจให้ปลอดภัย -การทำสต๊อคสินค้า
ทำธุรกิจให้มั่นคง -การบริหารจัดการ
ทำธุรกิจให้ร่ำรวย -การเงิน

Advertising

 

โดยทั่วไป ธุรกิจขนาดเล็กจะเริ่มต้นด้วยเจ้าของคนเดียวและมีผู้ช่วยคือคนในครอบครัว หน้าที่หลักคือ ทำการตลาดเอง และจัดหาสินค้าหรือควบคุมการผลิตเอง ในส่วนการบริหาร การบัญชี การเงิน จะทำอย่างไม่เป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดตามมา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับภาษี ปัญหางบประมาณบานปลาย และกำไรขาดทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง และไม่น่าเชื่อถือ

 ปี2560 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสำหรับธุรกิจที่เหมาจ่าย โดยเฉพาะธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป 40(8) ที่เคยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้80%ของยอดขาย เปลี่ยนเป็นให้หักค่าใช้จ่ายได้เพียง60%:ซึ่งสินค้าบางประเภทมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายจริงมากถึง70-80% ทำให้ไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้จะมีทางเลือกหักตามความจําเป็นและสมควรได้ แต่ก็ต้องแสดงหลักฐานตามความจริง ซึ่งส่วนมากก็คงไม่ได้ทำเอกสารไว้ หรือทำไว้แต่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่สรรพกร
อีกทางเลือกคือ การเปิดกิจการเป็น บริษัท แม้จะต้องแสดงหลักฐานตามความจริง และต้องจัดทำเอกสารให้ถูกต้องตามระบบบัญชี ซึ่งจะต้องเสียค่าจ้างทำบัญชีปีละไม่ต่ำกว่า18,000บาทขึ้นไป/เดือน  แต่ก็มีข้อดีกว่าแบบเหมาจ่าย...นี่คือเหตุผลหลักที่รัฐต้องการให้ธุรกิจเข้าสู่ระบบตามความเป็นจริง

รายได้เท่าใดควรเปิดเป็นบริษัท
เปรียบเทียบรายได้บุคคลธรรมดา(ภงด.90)จากธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป 40(8)ที่หักค่าใช้จ่ายได้60% มีรายได้ 2-3 ล้านบาท/ปี 
ตัวอย่าง1.เงินได้ทั้งปี 2,000,000 หักค่าใช้จ่าย 60% เหลือ800,000บาท หักค่าลดหย่อน 60,000บาท(+อื่นๆถ้ามี) คงเหลือนำไปคำนวนภาษี 740,000 บาท 
เมื่อนำไปคำนวนภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ จะเสียภาษี=63,500 (27500+36000)


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560

Advertising
ตัวอย่าง2.

 

เงินได้ทั้งปี3,000,000 หักค่าใช้จ่าย 60% เหลือ1,200,000บาท หักค่าลดหย่อน 60,000บาท(+อื่นๆถ้ามี) คงเหลือนำไปคำนวนภาษี 1,140,000 บาท 
เมื่อนำไปคำนวนภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ จะเสียภาษี=150,000 (115,000+35,000)

จากตัวอย่างที่1-2 จะเห็นว่า รายได้ยิ่งเยอะยิ่งเสียภาษีเยอะ และเสียมากถึง 35% ขึ่งถ้าเลือกทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล(บริษัท) จะต้องเสียภาษีอัตราเดียวคือ 20% ของกำไรสุทธิ แต่การเปิดเป็นบริษัท ค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน คือ ค่าจ้างทำบัญชี และ งานที่เพิ่มขึ้นคือ งานด้านเอกสาร
ถ้าถามว่าคุ้มไหม?..ลองเทียบกันดูครับ

 

เปิดเป็นบริษัทดีกว่าแบบเหมาจ่ายอย่างไร?
ตัวอย่าง3 บริษัทมียอดขาย 2 ล้าน และค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง(มีเอกสารที่ถูกต้องรับรอง)1.7ล้าน กำไร = 300,000 (2-1.7ล้าน) เมื่อนำไปคำนวนภาษี จะได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่กำหนด คือกำไร 300,000บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีในอัตรา20%) นั่นคือ ข้อนี้ไม่ต้องเสียภาษี

ตัวอย่าง4 บริษัทมียอดขาย 3 ล้าน และค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง(มีเอกสารที่ถูกต้องรับรอง)2.5ล้าน กำไร = 500,000 (3-2.5ล้าน) เมื่อนำไปคำนวนภาษี จะต้องเสียภาษีดังนี้
1.กำไร 300,000บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี
2.ที่เหลือ 200,000บาท เสียภาษีในอัตรา20%=40,000บาท
***SMEs อัตราภาษีตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น กำไรไม่เกิน300,000บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี

อาจมีคำถามว่า เป็นบริษัททำไมค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น ต้องเยอะครับ เพราะผู้บริหาร(เจ้าของ) ต้องมีเงินเดือน(เหมือนกับได้รับผลตอบแทนไปแล้วส่วนหนึ่ง)ซึ่งใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ 
แต่ถ้าเป็นภาษีบุคลธรรมดาหรือเหมาจ่ายจะให้หักค่าใช้จ่ายได้เพียง60%เท่านั้น หรือเลือกหักตามความจําเป็นและสมควรได้ 

ในความคิดเห็นส่วนตัว
การเป็นบริษัท เป็นองค์กรที่มีความเชื่อถือมากกว่าบุคคลธรรมดา และหากมีรายได้จำนวนมากก็ยิ่งสมควรเปิดเป็นบริษัท ดังนั้นถ้ายอดขาย มากกว่า1ล้านขึ้นไป ควรศึกษารายละเอียดการเปิดบริษัทให้มากที่สุด เช่น การจัดทำบัญชี การจ้างทำบัญชี การทำสต๊อก การประมาณการกำไรขาดทุน  การเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิกSMEs ..ฯ.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ทำธุรกิจให้อยู่รอด -การตลาด
ทำธุรกิจให้ปลอดภัย -การบัญชี
ทำธุรกิจให้มั่นคง -การบริหารจัดการ
ทำธุรกิจให้ร่ำรวย -การเงิน
การทำสต๊อคสินค้าด้วยกูเกิลไดร์ฟ       

 ธุรกิจขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง

ภาษีธุรกิจห้องเช่า

Advertising



Business advance

แบบฟอร์มตัดMaterials
การทำสต๊อคสินค้า
การบริหารธุรกิจ
เปิดสมองนักการตลาด
การตลาด