ReadyPlanet.com
มาตรฐานปลั๊กพ่วง
 

การเลือกซื้อชุดสายพ่วง-ปลั๊กพ่วง

มาตราฐานชุดสายพ่วง ปลั๊กพ่วง โรลเก็บสายไฟ ล้อเก็บสายไฟ
มาตรฐานเต้าเสียบและเต้ารับไฟฟ้า ที่ประกอบเป็น ชุดสายปลั๊กพ่วง ตามข้อกำหนด.....ซึ่งผมจะนำเนื้อหาที่สำคัญและเข้าใจได้ง่ายๆมา ลงไว้หน้านี้..ดังนี้

 Advertising

 ข้อกำหนด ชุดสายปลั๊กพ่วง ตามมาตฐาน....  
ชุดสายปลั๊กพ่วงมีล้อเก็บสายไฟ
ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้น มักเกิดจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ใช้ได้ไม่ทน เช่น เต้ารับ- เต้าเสียบ ตอนชื้อมาใหม่ๆ..ก็เสียบได้ดี พอสักพักก็เสียบได้ไม่แน่น
หลวมโยกเยก และการใช้สายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน  เมื่อใช้งานจะทำให้เกิดการสปาร์คและเกิดไฟไหม้ได้
รวมทั้งระบบปลั๊กที่ไม่มีอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟเกินและกระแสไฟรั่ว ทำให้ผู้ใช้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับหลายๆโรงงานมาแล้วและต้องปิดโรงงานส่วนนั้นเพื่อตรวจสอบและวางมาตรการต่อไป

ก็ต้องยอมรับว่า สินค้าที่คุณภาพดีจริงๆ..หรือดีที่สุด ราคามักจะแพงกว่าที่ขายในท้องตลาด แต่สำหรับผม..ผมว่าคุ้มค่ากับการใช้งานและความปลอดภัย..สินค้ากลุ่มนี้มักจะถูกเลือกไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและการเกิดอัคคีภัย
ตัวอย่าง.ที่เกิดขึ้นจริง พนักงานใช้เครื่องเจียร์(ลูกหมู) ขณะที่ใช้งานสายไฟของลูกหมูไปพันเข้ากับร่องหลังใบเจียร์ เกิดไฟซ๊อตและไฟไหม้ในจุดนั้น และทันทีเช่นกัน เบรคเก้อร์ตัดไฟรั่วของปลั๊กพ่วงก็ทริปปิดการจ่ายไฟทันที

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา..มีหลายโรงงานที่ให้ความใส่ใจต่อการใช้ปลั๊กพ่วง เช่นโรงงานผลิตรถยนต์ในไทยหลายแห่ง  ได้กำหนดมาตรฐานปลั๊กพ่วงสำหรับผู้รับเหมาและกำหนดตรวจสภาพปลั๊กพ่วงทุก3เดือน

คำว่า..มาตรฐาน...ที่กำหนดไว้หมายถึงอะไร?
มอก. 2432-2555  ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 24 กุมภาพันธื 2561 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตราย
ที่จะเกิดจากสายพ่วงที่ไม่มีคุณภาพ

การสร้างชุดสายพ่วง
1.เต้ารับที่ใช้ในชุดปลั๊กพ่วงต้องมีตัวปิดช่อง(shutter)
-เต้าเสียบและเต้ารับต้องเป็นไปตาม มอก.166และมอก.2162 
- อุปกรณ์ป้องกันไฟเกิน (Overcurrent protective divice) (ถ้ามี)ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
-เครื่องตัดวงจรกระแสไฟเหลือ ที่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน(RCBO)
-ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
-สวิตซ์
 (ถ้ามี)ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

2.
อุปกรณ์ประกอบชุดปลั๊กพ่วง ควรมีระบบป้องกันไฟรั่ว   เช่น เบรคเก้อร์ป้องกันไฟดูด 
3.
สายไฟ  ได้มาตรฐาน มอก. IEC  

4.โครงสร้างต้องแข็งแรง ใช้งานได้ทนทาน ..  
สรุป สินค้าประกอบหลัก สำหรับทำชุดปลั๊กพ่วง
เช่น เต้ารับ เต้าเสียบ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน ป้องกันกระแสไฟรั่ว  สวิทซ์  สายไฟ ต้องเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานมอก.
รูปแบบปลั๊กพ่วง มอก.2432-2555
รูปแบบปลั๊กพ่วงล้อเก็บสายไฟ มอก.2432-2555

STAR Z
รับประกอบปลั๊กพ่วง
โดยวิศวกรไฟฟ้าของโรงงานเป็นผู้กำหนดสเปค


STAR Z  รับประกอบปลั๊กพ่วงโดยวิศวกรไฟฟ้าของโรงงานเป็นผู้กำหนดสเปค
โรงงานอุตสาหกรรมที่มี จปว/วิศวกรไฟฟ้าควบคุมงาน
การใช้ปลั๊กพ่วงต้องได้รับการตรวจสอบสภาพทุกวัน ก่อนนำเข้าไปใช้โดยได้รับสติกเกอร์ "ผ่านการตรวจสอบแล้ว" 
https://www.shoppingbycom.com/fb-line/industry.html

 สเปคปลั๊กพ่วง ปลั๊กอุตสาหกรรม  ปลั๊กโรงงาน  ปลั๊กสำนักงาน

 




มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า

ปลั๊กพ่วงโรงงานอุตสาหกรรม
รูปแบบปลั๊กพ่วงมีล้อ