|
สาเหตุค่าไฟฟ้าขึ้นเยอะ คำตอบสุดท้าย.. ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นเหตุและผล เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น ผมปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างหมด แล้วทดสอบโดยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทีละตัว พบว่า ตัวที่ทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าหมุนเร็วสุด คือตู้เย็น รองมาคือ ทีวี และกระติกน้ำร้อน ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์พบว่า.. ตู้เย็นทำงานตลอด..หมายถึงคอมเพรสเซอร์ไม่ตัด สภาพตู้เย็นเป็นตู้เย็นเก่า อายุการใช้งานน่าจะมากกว่า8-10ปี ดังนั้นการทำงานที่ไม่หยุดเลยทั้งวันทั้งคืนหรือหยุดน้อยมาก คือต้นเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติที่ควรจะเป็น ส่วนทีวีก็เป็นทีวีรุ่นเก่าไม่ใช่จอแบน(LED)ถ้าเปิดทั้งวันค่าไฟก็จะเยอะ ส่วนกระติกน้ำร้อนใช้น้อยมีผลไม่มากนัก คำตอบ..ตัวอย่างที่2. พบว่า ตู้เย็นเครื่องที่2 ทำงานไม่ตัด เนื่องจากสภาพเริ่มเสี่อม อื่นๆ ปกติทุกอย่าง สรุป..ถ้าค่าไฟฟ้าในบ้านของท่านขึ้นเยอะกว่าปกติที่เคยใช้ และเป็นอย่างต่อเนื่องไม่ยอมลดเหมือนแต่ก่อน ควรตรวจสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านก่อน ทั้งนี้เพราะอายุการใช้งาน ของแอร์ ตู้เย็น ทีวี และ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ รวมทั้งหลอดไฟที่ใช้บัลลาส์ต เมื่อเสื่อมสภาพย่อมส่งผลต่อการใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น และเป็นสาเหตุทำให้ค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติได้.. และจะไม่ยอมลดเท่าเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหรือแก้ไขใหม่ เช่น • ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น และปิดสวิตช์/ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ • เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง อาทิ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ซึ่งประหยัดกว่าหลอดไฟธรรมดา 85% และเปลี่ยนมาใช้แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ ที่ช่วยรักษาอุณหภูมิในห้องให้คงที่และเย็นทันใจ ซึ่งจะช่วยประหยัดไฟได้ถึง 30% คำตอบสุดท้าย ร้อนนี้ทำไมค่าไฟขึ้นเยอะ ใช้กระแสไฟฟ้าเยอะ ค่าไฟฟ้าก็ต้องมากตาม ถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะหน้าร้อน ทำให้ต้องเปิดแอร์เร็วขึ้น และแอร์ทำงานหนักกว่าหน้าอื่นๆ เพราะหน้าร้อนอุณหภูมิภายนอกจะส่งความร้อนเข้ามายังผนังอาคารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยเฉพาะห้องที่มีผนังด้านทิศตะวันตกจะมีความร้อนนานมาก ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก และส่งผลให้เครื่องปรับอากาศเสื่อมสภาพเร็ว หากหลีกเลี่ยงทิศไม่ได้ก็ควรทำระแนงกันแดด หรือปรับปรุงผนังใหม่ที่ช่วยกันความร้อนได้ เช่น ผนังที่ปิดด้วยโฟมซึ่งป้องกันได้ทั้งความร้อนและน้ำฝน
แอร์ไม่เย็น เย็นไม่ฉ่ำ Advertising |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |