ReadyPlanet.com
การคัดเลือกพนักงานใหม่

 การคัดเลือกพนักงานใหม่
การรักษาพนักงานในองค์กรสำหรับ SME

 
Advertising
ปัญหาที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนมักพบปัญหาบ่อยๆก็คือ จะคัดเลือกพนักงานใหม่อย่างไร พนักงานเก่าอายุงานไม่นานก็ลาออก เป็นปัญหาที่เป็นเหมือนไข่หรือไก่ใครเกิดก่อนกัน
บริษัทเล็กๆ มุมมองพนักงานเองก็มองว่าไม่มั่งคง เงินเดือนน้อย สวัสดิการไม่ดี ไม่ภาคภูมิใจ ใครถามว่าทำงานที่ไหน บอกไปก็ไม่มีใครรู้จัก หรือธุรกิจเล็ก ก็มักจะมีคนถามว่ามันจะไปรอดหรือจะไปอยู่มันทำไมนานๆ เป็นงานแล้วก็รีบไปสมัครบริษัทใหญ่ๆดีกว่า ว่าไปแล้ว มันก็เป็นวัฐจักร เหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก บริษัทใหญ่ก็ได้เปรียบเรื่องเงินทุน จะเข้าจะออกสักกี่คน บริษัทก็ไม่กระทบกระเทือน บริษัทเล็กๆเข้าๆออกบ่อยๆของพนักงานก็จะสร้างปัญหาใหญ่ๆตามมาเช่น พนักงานบัญชีลาออก เงินก็เก็บลูกค้าไม่ได้ เจ้าของก็ต้องไปเก็บเอง
ในมุมมองของเจ้าของกิจการSME บริษัทยังไม่มั่นคง กำไรก็ไม่แน่นอน เงินที่หมุนในแต่ละเดือนกว่าขายของได้และกว่าจะเก็บเงินลูกค้าได้ ต้องกู้แบงค์ต้องจ่ายดอกเบี้ย ปัญหามากมาย รายจ่ายที่ต้องจ่ายก็มากมาย ไหนค่าเช่า ไหน เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าสวัสดิการต่างๆ แล้วก็ต้องขึ้นเงินเดือนให้ทุกปี แต่ประสิทธิภาพของพนักงานได้คุ้มค่าเงินที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
ดังนั้นหากเศษฐกิจไม่ดี ธุรกิจไม่ดีก็ไม่ดี โอกาสที่จะไปไม่รอดก็มีมา ดังนั้นความเครียดของเจ้าของกิจการจะมีมากกว่าพนักงานกินเงินเดือน เพราะเจ้าของกิจการต้องหาเงินมาจ่ายเงินเดือนพนักงานทุกเดือน แม้นว่าขายของดีแต่บางทียังเก็บเงินลูกค้าไม่ได้ ก็ต้องเอาเงินโอดีจากแบงค์มาจ่ายให้พนักงานก่อน ก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้กับธนาคาร หากสินค้าที่ขายได้กำไรน้อย ก็อาจขาดทุนได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องมีการวางแผนธุรกิจและวางแผนการเงินอย่างรัดกุม จึงจะนำพาบริษัทเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยกรมนุษย์หรือพนักงานที่ใหม่และเก่า โดยมีเทคนิคการจัดการดังต่อไปนี้

เทคนิคการคัดเลือกพนักงานใหม่

คุณสมบัติของพนักงานที่ดี ต้องมีความรับผิดชอบ ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะงานที่ทำให้มีความชำนาญและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมิตรไมตรีกับเพื่อนร่วมงาน เข้าสังคมได้ดี

 
การสัมภาษณ์พนักงานใหม่ เป็นเรื่องสำคัญของการกลั่นกรองคัดเลือกที่จะรับพนักงานที่ดีเข้ามาร่วมงานกับบริษัท บริษัทใหญ่ๆจะมีขั้นตอนมากมายในขั้นตอนนี้ แต่สำหรับบริษัทเล็กๆอย่างSME มัก ฝากๆกันมาหรือญาติพี่น้อง ซึ่งก็จะเกิดปัญหาต่อไปในอนาคต เช่นกรณีทำผิดกฏก็จะช่วยเหลือกันหรือทำให้เกิดการทุรจิตในองค์กรได้ง่าย บางทีเจ้าของกิจการมักไม่ค่อยมีการกลั่นกรองคัดเลือกพนักงานใหม่เพราะมักจะอ้างว่าไม่ค่อยมีเวลา คนใหม่ก็คือคนใหม่จะไปสนใจอะไรมากมาย ยังทำอะไรไม่ได้ ถ้าคิดอย่างนี้ก็จบกัน
 
หากใครเคยอ่านหรือดูหรือสามก๊กก็จะเห็นว่า เล่าปี กว่าจะได้ บงเข้งมาช่วยงาน ต้องทุ่มเทเวลาและเข้าไปหาตั้งหลายครั้งจึงจะได้ขงเบ้งมาใช้งาน
 
คนใหม่หากเป็นบริษัทใหญ่ ก็จะมีตั้งแต่ระบบกลั่นกรองคัดเลือกและกำหนดคุณสมบัติพนักงานใหม่ว่า จบวุฒิอะไร ประสบการณ์งานที่ทำกี่ปี ฐานเงินเดือนที่เหมาะสม มีการสัมภาษณ์หลายคนทั้งหัวหน้างานและผู้จัดการ รวมทั้งมีการวางแผนอบรม มีพี่เลี้ยง ในช่วงทดลองงาน มีคู่มือการทำงาน มีการเลี้ยงต้อนรับ มีการพาไปสังสรรค์ทำให้พนักงานใหม่เกิดความคุ้นเคยและเข้ากันได้
 
ส่วนพนักงานใหม่ของSME จะไม่มีระบบดังกล่าว พนักงานใหม่มักมีความรู้สึกเหมือนลอยแพ หางานทำตามมีตามเกิด ที่ไหนมีระบบหน่อยก็อาจจะมีระบบพี่เลี้ยง แต่จะคู่มือระบบงานก็คงไม่มี หากไม่มีการกำชับพี่เลี้ยงให้ดี ก็ยากที่จะเป็นงานได้เร็ว
 
ทำให้พนักงานใหม่เกิดความเบื่องานและมักจะลาออก ทำให้เสียเวลาเสียเงินของบริษัทไปเปล่าๆ
 
ดังนั้น บริษัทSME ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกพนักงานใหม่รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วก็จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าไม่สะดุดทำให้เสียโอกาศในทางธุรกิจดังต่อไปนี้
 
1.เทคนิคการพิจารณาบุคคลิกของพนักงานใหม่รวมทั้งสุขภาพร่างกาย รวมทั้งสภาพจิตใจ ให้เหมาะสมกับงานและเพื่อนร่วมงาน
 
2.เทคนิคการสร้างระบบพี่เลี้ยง ต้องมีการคัดเลือกพี่เลี้ยงให้เหมาะสมและกำหนดระยะเวลาดูแล แผนงานกิจกรรมที่จะต้องสอนงานพนักงานใหม่ เช่นพาไปทำความรู้จัดเพื่อนร่วมงาน ดูแลการกินอยู่ การทำงานให้ช่วงเริ่มแรก ผู้บริหารระดับสูงก็ต้องสอบถามความเป็นอยู่ หรือดูว่าพนักงานใหม่มีความสุขหรือสะดวกได้รับการสนับสนุนในการทำงานหรือไม่
 
3.เทคนิคการมีระบบ feed back ข้อบ่กพร่องหรือข้อปรับปรุงต่างๆ ที่จะแจ้งให้พนักงานใหม่เกิดการรับรู้และปรับปรุงตัวและงานให้ได้คุณภาพและประสิทธิภาพ พยายามไม่ให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน ต้องพยามสร้างความร่วมมือหรือความสามัคคีให้การทำงานให้ได้
 
4.เทคนิคการมีระบบงาน การทำงานต่างๆ ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่ง ปกติ บริษัทใหญ่ๆ จะมี JD,JA,JP,WI แต่ในระบบ SME อาจจะจัดทำแบบง่ายๆ เพื่อเป็นแนวทางให้พนักงานใหม่ได้ทราบและดำเนินการศึกษาในคู่มืองาน
 
การรักษาพนักงานสำหรับบริษัทSME
 
เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูงของSME ให้ความสำคัญและแก้ไข พยายามรักษาพนังงานที่ดีมีความสามารถให้ช่วยงานและอยู่กับองค์ตลอดไป
 
1.เทคนิคการบริหารให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและบรรยากาศทำงานที่ดี คือการที่ผู้บริหารระดับสูงรับฟังความคิดเห็นพนักงาน ปัญหาพนักงานทำงานแล้วเกิดความขัดแย้งแก้ไขด้วยเหตุและผลไม่มีการใช้อารมณ์ก็จะทำให้การแก้ไขไม่แก้แค้น
 
2.เทคนิคการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงทำเป็นตัวอย่างหรือริเริ่มและค่อยๆ กระจายไปสู่พนักงานและกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีต่อไป
 
3.เทคนิคการประเมินผลและการพัฒนาพนังงานที่มีศักยภาพให้เกิดความรู้นำมาพัฒนาองค์กร มีการวางแผนการอบรมพนักงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้พนักงานได้ความรู้ใหม่ๆนำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
4.เทคนิคการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน การที่ผู้บริหารมีแผนธุรกิจที่ดี และมีโครงงานของธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำให้พนักงานที่มีความรู้ ได้ท้าทายความสามารถให้ มีความก้าวหน้าในต่ำแหน่งและรายได้ที่ดีขึ้น
 
5.เทคนิคการจูงใจและจิตวิทยาในการทำงาน ผู้บริหารระดับสูง คิดวิธีการต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้ผลงานดีขึ้น โดยมีค่าตอบแทน เป็นรางวัล ที่เป็นได้ทั้งเงิน สิ่งของ หรือใบประกาศ เกิดความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน เช่น พนักงานดีเด่นประจำเดือน ประจำปี เป็นต้น
 
หากบริษัทSME ในหลักการและแนวทางข้างบนนี้ไป ปฏิบัติ เชื่อว่างจะช่วยหยุดเลือด ที่จะทำให้ธุรกิจของท่านเจิรญก้าวหน้าได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน แต่หากท่านต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม หรือให้เราช่วยเสริมหรือจัดทำหลักสูตรอบรมหรือวางระบบที่
 
ท่านคิดว่าเป็นจุดอ่อนของบริษัทของท่าน เรายินดีให้บริการแก้ไขปํญหาต่างๆ ด้วยประสบการณ์อย่างมืออาชีพ 

***หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการปรึกษาในเบื้องต้น ท่านสามารถส่งคำถามของท่านได้ที่แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างสุด ซึ่งอ.วิษณุ ยินดีให้คำปรึกษา

 

Advertising

 

 

 




ที่ปรึกษาธุรกิจ

จ้างที่ปรึกษาธุรกิจ คิดค่าใช้จ่ายอย่างไร?
การพัฒนาธุรกิจSME1
คำถามเกี่ยวกับ SME article
หมอดูธุรกิจ
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ SME 2
คำถาม SME 2
บริการที่ปรึกษาธุรกิจSME
ทางออกการเงินSME
Totara Social
การพัฒนาพนักงานขององค์กร SME โดย ระบบ HR
การได้รับรองเป็นที่ปรึกษาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
แบบแผนการบริการให้คำปรึกษา
ประวัติ ผู้ได้รับอนุญาติ