ตัวอย่างการทำสัญญาห้องเช่า
มีคำถามอยู่ว่า หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิ์บอกเลิกการเช่าได้หรือไม่ หรือมีสิทธิ์ล็อคกุญแจห้องยึดทรัพย์สินของผู้เช่ามาเป็นค่าเช่าที่ค้างชำระได้หรือไม่
หากผู้ให้เช่ารู้เท่าไม่ถึงการ เข้าไปยึดทรัพย์ขณะที่ผู้เช่าไม่อยู่ ผู้เช่ามีสิทธิ์ฟ้องผู้ให้เช่าฐานบุกรุก และ ขโมยทรัพย์สินได้นะครับ แม้จะคิดว่าตัวเองมีสิทธิ์ เพราะว่าผู้เช่ายังคงมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 "ถ้าผู้ให้เช่าไปรบกวนการครอบครองสิทธิของผู้เช่า ผู้ให้เช่าจะมีความผิดฐานบุกรุก"
ปกติการแจ้งตักเตือนผู้เช่าที่กระทำผิดข้อห้าม แม้ไม่ได้ทำสัญญาเช่า ก็มักจะตกลงกันได้ด้วยดี แต่หากเกิดเจอพวกรู้น้อยรู้มาก มันก็นำเรื่องปวดหัวมาให้ได้เหมือนกันเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไร?..ที่ผ่านมาผมได้เขียนตัวอย่างการทำสัญญาห้องเช่าไว้ แต่ตอนนี้ตั้งแต่เดือน5/2561 การทำสัญญาห้องเช่าต้องเป็นไปตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งขณะนี้มีข้อถกเถียงกันอยู่หลายประเด็น และหากสรุปได้ผลแน่นอนแล้ว จะทำตัวอย่างสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ถูกต้องมาให้ดู
Advertising
กฏหมายใหม่..ว่าด้วยการทำธุรกิจห้องเช่า เริ่มใช้แล้วเดือน 5/2561
ไม่รู้ไม่ได้ ผิดโดนปรับ สัญญาละ1แสน
"โปรดทำความเข้าใจให้ถูกต้อง" คลิก
ประกาศ
ราชกิจจานุเบกษา
เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561
เนื้อหาด้านล่างนี้ต้องยกเลิกแล้ว
และต้องทำสัญญาเช่าตามกฎหมายใหม่คุ้มครองผู้เช่า คลิก
Advertising

ก่อนที่จะให้ผู้เช่าเซ็นต์สัญญาเช่า ผู้ให้เช่าควรจะต้องให้ผู้เช่าอ่านสัญญาเช่าหรือไม่ก็อธิบายให้ผู้เช่าฟังตามสัญญาเช่าโดยละเอียด..เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันและถือปฏิบัติได้
เนื้อหาต่อไปนี้จะอธิบายไปทีละข้อ และชี้ให้เห็นว่าหากไม่กำหนด จำนวนหรือขอบเขตจะเกิดปัญหาอย่างไร.
1.กำหนดราคาค่าเช่าห้องพัก..... กำหนดจำนวนผู้อยู่อาศัย
หากไม่กำหนดจำนวนผู้อยู่อาศัย ผู้เช่าก็อาจพาเพื่อนหรือญาติมาพักอาศัยอยู่ด้วยจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนย่อมสร้างปัญหาตามมา เช่น มั่วสุม เสียงดัง มีปัญหากับห้องข้างเคียง ขยะเต็มเร็ว ส้วมเต็มเร็ว ***ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขนี้ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนหรือญาติจะมาเยี่ยมไม่ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบก่อน เพื่อที่จะคอยดูแลและกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมถูกต้อง หากผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามผู้ให้เช่าก็ย่อมมีสิทธิ์ยกเลิกการให้เช่าได้ตามข้อ......
.กำหนดระยะเวลาการเช่าขั้นต่ำ เพื่อคืนสิทธิ์เงินค่าประกัน เช่นการเช่าต้องเช่าอย่างน้อย3เดือน หากอยู่ไม่ครบ3เดือนจะไม่คืนค่าประกันทั้งจำนวน ทั้งนี้เพราะการให้เช่าระยะสั้นอาจไม่คุ้มกับค่าจัดการดูแล ปรับปรุงห้อง เป็นต้น
2.+4.กำหนดจำนวนเงินค่าประกันการเช่า..และวันครบกำหนดการชำระค่าเช่า รวมทั้งกำหนดค่าปรับ กรณีเกินกำหนดวันชำระ.. หากไม่กำหนดเช่นนี้ ผู้เช่ามักจะไม่มาจ่ายตามกำหนด..
3.กำหนดค่าน้ำ ค่าไฟ สำหรับมิเตอร์ที่ไม่ใช่ของการประปา-ไฟฟ้า
กฏข้อห้าม มีไว้เพื่อความสงบสุขของส่วนรวม
ดูเนื้อหา คลิกที่รูปสัญญาเช่าข้างบน
ธุรกิจห้องเช่า
ดูเหมือนว่าการมีห้องเช่า แล้วรอเก็บแต่ค่าเช่าอย่างเดียวมักจะถูกเพื่อนๆอิจฉาว่าสบายแล้ว..แต่จะสบายจริงไหม..มาดูกันครับ..ผมจะพยายามรวบรวมเนื้อหาทั้งหมดของการทำธุรกกิจห้องเช่ามาลงให้ได้มากที่สุด ทุกแง่ทุกมุมในเว็บไซด์นี้
การทำธุรกิจห้องเช่า สิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญคือ
ประเภทหรือระดับลูกค้า คลิก
งบประมาณและเวลาคืนทุน คลิก
ราคาวัสดุก่อสร้าง-ค่าแรงรับเหมา คลิก
การควบคุมราคาก่อสร้างอาคาร คลิก
ตัวอย่างแบบห้องเช่าชั้นเดียว คลิก
การเสียภาษีธุรกิจห้องเช่า ภาษีโรงเรือน ภาษีรายได้ คลิก
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับธุรกิจห้องเช่า คลิก
การบริหารการใข้ไฟฟ้าห้องเช่า คลิก
การพัฒนาห้องเช่า คลิก
การบริหารการใช้น้ำประปาห้องเช่า คลิก
ตัวอย่างหนังสือสัญญาห้องเช่า คลิก
ค่าใช้จ่ายบำรุงดูแลรักษา คลิก
งบประมาณและเวลาคืนทุน คลิก
Advertising