มนุษย์ มีความคิดไว้สร้างและทำลาย
เมื่อมีปัญหาที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น และเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ในปลายทางจะเป็นอย่างไร.. ย่อมทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในวังวลของความคิด และคิดจนพักผ่อนไม่เพียงพอ หนักเข้าก็จะทำลายสุขสภาพถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล
เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป อาการคิดวิตกกังวลก็จะค่อยๆหายไป นั่นเพราะไม่มีปัญหาใดๆในโลกที่แก้ไม่ได้ ทุกปัญหาล้วนมีทางออก ส่วนจะออกถูกทางหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่อง แต่ก็มีความจริงบางประการที่เราต้องยอมรับ นั่นคือ บางปัญหาทางออกคือ ทางตัน
หมายความว่า เราต้องยอมรับความจริงของปัญหานั้นโดยการอยู่ร่วมกับมัน และต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่ปัญหาเพราะมันคือ ความจริง หากรับสิ่งนี้ไม่ได้ก็ต้องทิ้งมันไป อย่าไปอยู่กับมัน อันนี้เราเลือกได้หรือต้องแลกด้วยอะไรบางอย่างก็ต้องยอม เพื่อให้เกิดความสงบ จิตสงบ แต่..
Advertising
แต่มีบางสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่ปัญหาในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่ปัญหาดำเนินธุรกิจ แต่กลายเป็นปัญหาทางจิต ที่มันเกิดขึ้นโดยไม่อาจแก้ไขได้ แม้จะไปพึ่งหมอพึ่งยาแล้วก็ตาม นั่นคือ จิตฟุ้งซ่าน
สาเหตุของการเป็นโรคจิตฟุ้งซ่าน-คิดฟุ้งซ่าน

ทุกวันเราสะสมเนื้อหาของความคิดลงไปในจิต ทับถมลงไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต และจิตที่เราทับถมลงไปนั้น ยังมีเนื้อหาเก่าที่เรียกว่า ความทรงจำอดีตชาติรวมอยู่ด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่า การทับถมของจิตวิญญาณ The layer of soul
หากเทียบคุณสมบัติของจิต ก็คือคลื่นพลังงานที่ขยับตลอดเวลา ทุกการขยับคือการเชื่อมต่อระบบประสาท ผลที่ออกมาเรียกว่า ความคิด
ความคิดมาจากไหน?
ความคิด..เกิดจากจิตทำงานกับสมองในส่วนที่เกี่ยวกับความทรงจำเกิดมโนภาพต่างๆขึ้นและใจ(จิตรู้)เป็นตัวรับรู้ข่าวสาร(กระแสจิต)และควบคุมว่าจะคิดต่อหรือจะหยุด หากควบคุมไม่ได้ จัดอยู่ในรูปแบบของ จิตฟุ้งซ่าน ซึ่งมักจะเกิดกับคนสูงวัย หรือ ผู้ที่มีสภาวะทางจิตที่อ่อนไหวง่าย
ทำไมควบคุมจิตฟุ้งซ่านไม่ได้
ที่จริงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะควบคุมความคิดฟุ้งซ่านที่เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ จนกลายเป็นโรคประจำตัว แต่ก็ยังมีอีกวิธีที่จะแนะนำ นั่นคือ วิธีสร้างเป้าหมายใหม่
จิตฟุ้งซ่าน จะถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์เก่าๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีตผสมผสานกับเหตุการณ์ในปัจจุบันที่สอดคล้องกัน อันมีความเสียใจน้อยใจ ความกลัว ความพยาบาทรวมอยู่ด้วย หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนั้นต่อไป ก็ยิ่งจะทำให้ร่างกายและสภาพจิตแย่ลง การเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ของจิต จะทำให้จิตอยู่กับเป้าหมายใหม่ แต่จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการที่จะเปลี่ยนหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ และต้องมีศรัทธาในสิ่งที่จะทำ
ขอยกตัวอย่าง ที่ได้ปฏิบัติมา ดังนี้
นานมาแล้วปล่อยครั้ง ที่ตนเองกว่าจะนอนหลับได้ ต้องตกเป็นสภาจิตฟุ้งซ่านหลายเดือน หลับยาก ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องไปหาหมอ และแน่นอนจะได้ยาช่วยให้นอนหลับได้งายขึ้น ชึ่งฤทธิ์ของยาจะทำให้เกิดอาการมึนชา พอยาหมดอาการเดิมก็กลับมาเป็นอีก.. จึงหันมาวิเคราะห์ตนเอง หาความรู้เกี่ยวกับจิต และได้ทดลองดังต่อไปนี้
ก่อนนอนไม่คิดเรื่องใดๆทั้งสิ้น แต่ให้ปฏิบัติ อยู่กับเรื่องนี้เรื่องเดียว
นั่นคือ การตั้งจิตอธิฐานก่อนนอน ในท่าขณะที่นอนหงาย แล้วมโนคำกว่าขึ้นในจิต ดังนี้
"ข้าพเจ้าขอขอบคุณ บิดา มารดา ภรรยา-สามี บุตร ครู เพื่อน (กล่าวถึงทุกคนที่คุณควรจะขอบคุณแม้ว่าผู้นั้นจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม) และขอบคุณทุกๆสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ ที่ช่วยให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จ และขอให้ทุกๆสรรพสิ่งทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างจงมีแต่ความเจริญในจางจิตวิญญาณ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน "
กล่าวช้าๆ จะกล่าวออกเสียงหรือในใจก็ได้ ควรกล่่าว 3 จบ อย่างน้อย หรือจะกล่าวจนหลับไปเลยก็ได้
หากตื่นขึ้นมาแล้ว นอนไม่หลับอีก ก็ให้ทำแบบเดิม
ผลคือ จิตของคุณ จะถูกทดแทนด้วยเนื้อหาที่ดีงาม ปราศจากความกลัวและความกังวลใดๆ พลังชีวิตของคุณจะเพิ่มมากขึ้นอันมาจากความรักความศรัทธาที่คุณมีต่อตัวเอง ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น
*********
นี่คือการสร้างเป้าหมายใหม่ ให้จิตทำงาน
ปฏิบัติทุกวัน นอกจากจะหายฟุ้งซ่านแล้ว ผลรับในด้านอื่นที่ขอไว้ก็จะตามมา..
ข้อแนะนำนี้เรียกว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อลดจิตฟุ้งซ่าน
การปฏิบัติธรรม หมายถึง การควบคุมพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นให้อยู่ในความสมดุลงดงาม โดยผ่านกระบวนการทางจิต ให้ปฏิบัติธรรมในทุกอิริยาบถ(ทำงาน เดิน นั่ง ยืน นอน กิน ขับถ่ายฯ ) และในทุกสภาวะจิต(โกธร โลภ เศร้า เสียใจ ดีใจ อิจฉา ปิติสุข ฯ)หรือเรียกอีกอย่างว่า การสร้างปัญญาด้วยปัญญา (ไม่ได้หมายถึง ต้องนุ่งขาวห่มขาว หรือการเข้าวัด เข้าป่า เพื่อทำวิปัสสนากรรมฐาน)
มีเพียงการปฏิบัติธรรมเท่านั้น ที่จะทำให้การดำเนินชีวิต มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม และการปฏิบัติธรรมก็นำไปสู่การหลุดพ้นได้
การปฏิบัติธรรม ต้องอาศัยความรู้ เข้าสู่กระบวนการขบคิด ความรู้ที่ได้มานี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดมุมมองความคิดใหม่เป็นความคิดที่พื้นฟูชีวิต
ความรู้นั้น ได้มาจาก การอ่าน ฟัง ถาม ดู สัมผัส โดยใช้สมาธิเป็นตัวนำ ยิ่งมีสมาธิมาก ความรู้ความเข้าใจก็เกิดขึ้นง่าย แต่ความรู้ที่ได้มานี้ยังไม่สมบูรณ์ ต้องนำไปขบคิดให้เกิดความสมดุลกับธรรม(สภาวะที่เกิดขึ้น)ของตน และนำไปปฏิบัติ ให้เกิดเป็นรูปธรรม
*****
Advertising
"เพราะไม่เข้าใจจิต จิตก็เลยฟุ้งซ่าน"
คิดอย่างไร..ให้ถูกวิธี (กู้จิตฟุ้งซ่านตอนจบ)
ความฝันที่อันตราย
Advertising