ReadyPlanet.com
ขั้นตอนการออกแบบ-ยื่นแบบก่อสร้างบ้าน-อาคาร
ทางเข้าบ้าน-สร้างบ้านอย่างไรดี? แบบบ้านอาคารพาณิชย์  แบบบ้าน2ชั้น
แบบห้องแถวเช่าชั้นเดียว แบบบ้านชั้นเดียว-ราคาก่อสร้าง  ทำธุรกิจอะไรดี..บนที่ดินว่าง
 แบบบ้านทาวน์เฮ้าส์  แบบบ้านสำเร็จรูป บ้านน๊อคดาวน์  แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
 แบบบ้านประหยัดพลังงาน  แบบบ้านสำเร็จรูปคืออะไร?  แบบฟอร์มประเมินราคาก่อสร้าง
ตัวอย่างแบบแปลนบ้าน2ชั้น ราคาเครี่องมือ/อุปกรณ์ก่อสร้าง  ราคาวัสดุก่อสร้าง-แบบแปลน
แบบร้านกาแฟ ร้านอาหาร ขั้นตอนการออกแบบ-ยื่นแบบ  ติดต่อเจ้าของแบบ-รับออกแบบ

ทางเข้าบ้าน ... 
Entrance to your home

ขั้นตอนการออกแบบ-ยื่นแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้างบ้าน-อาคาร
ยังไม่มีแบบบ้านเลย.. เริ่มจากรูปแบบบ้านที่คุณต้องการ จากที่เคยเห็นในสถานที่ต่างๆ ในเว็บไซด์ หรือที่ฝังอยู่ในความทรงจำ นำความต้องการนั้นเสนอกับผู้ออกแบบ(สถาปนิก) แล้วเขาก็จะจัดการให้คุณตามรายการที่คุณนำเสนอ เสร็จแล้วก็นำแบบนั้นไปยื่นกับเขตเพื่อขออนุญาตในการก่อสร้าง อ้อ..อย่าลืมถามราคาก่อนละว่าคิดค่าออกแบบเท่าไหร่? คิดอย่างไร? (ที่เคยรู้มาบางรายคิดตามมูลค่างานก่อสร้าง หรือจะสอบถามที่นี่ดูก็ได้ครับ)
หากไม่ต้องการเสียเงินค่าออกแบบ ก็ลองไปดูที่เขต..เขาจะมีแบบบ้านฟรีไว้ให้เลือกเป็นเล่มๆ ซึ่งเรียกว่า แบบบ้านมาตรฐานเพื่อประชาชน ของกรมโยธา หรือจะลองค้นหาดูตามเว็บก็ได้
ผมก็เคยเจอในเว็บ  แต่อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องของแบบ เช่นไม่อาจแก้ไขหรือปรับแต่งโครงสร้างให้เหมาะสมกับพื้นที่ได้ 
(มีโอกาสผมจะเอาตัวอย่างรูปภาพแบบบ้านฟรีมาลงให้ชม)

Advertising
ชอบแบบบ้านของเพื่อน เอามายื่นขอฯได้ไหม?
ได้ครับ..แต่ก็ต้องมีเอกสารใบรับรองจากผู้ออกแบบยื่นแนบมากับแบบที่จะขอด้วยครับ..

เมื่อยื่นแบบแล้ว ก็ต้องมีคนควบคุมการก่อสร้าง   อันนี้ก็ต้องยื่นเรื่องว่าใครจะเป็นคนคุมงานก่อสร้าง ต้องเป็นวิศวกรโยธาที่มีใบอนุญาตเท่านั้น (ต้องเสียเงินตามแต่จะตกลง)

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
  - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  - แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
  - สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
  - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
 
 การพิจารณา
  - ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ    ที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  - อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
  - การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
  - แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
    1). ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
    2). ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
    3). ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
    4). แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
    5). วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร

 ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
  - อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
- อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
- ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ส่วนรูปภาพ หรือรูปแบบบ้านที่เห็นในเว็บนี้ เราได้รับการสนับสนุนโดย Layer House Jobs
ซึ่งท่านสามารถติดต่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบ ซื้อแบบ คลิกที่นี่ 



แผ่นปิดหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว
 

  ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
  - ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
  - ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
      1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
     2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
     3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
     4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท
       สำหรับประชาชนในเขตเทศบาล ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อนย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาล
 
7. บทกำหนดโทษ
      7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
     7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
     7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
         - ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
         - เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
         - เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง
ขอบคุณเนื้อหาจากเว็บไซด์ 
เทศบาลตำบลธัญบุรี
 
จิตวิทยา นำความสบายใจ มาสู่ชีวิต
 บ้านจะเล็ก หรือใหญ่แค่ไหน..ก็ไม่สำคัญ แต่มันอยู่ที่ว่า สร้างแล้วสวยถูกใจไหม? อยู่แล้วทำให้รู้สึกสบายใจไหม?
ในอนาคตผมเชื่อว่า คนไทยเลือกที่จะสร้างบ้านชั้นเดียวยกระดับ มากกว่าบ้านที่ใหญ่โต ทั้งนี้เพราะ ความสะดวกสบายในการดูแล ง่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมใหม่  ซึ่งจะดูสวยงามเรียบง่ายสไตล์โมเดิร์น ดูตัวอย่างบ้านสไตร์โมเดิร์น

จริงอยู่กับสุภาษิตโบราณที่ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่” แต่ในทางจิตวิทยานั้นสำคัญกว่า “ความต้องการที่ไม่มีเหตุผลรองรับ” การเลือกโทนสีก็เช่นกัน ภายในห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ควรจัดให้ถูกกับสถานที่ เช่น ถ้าคุณชอบความสงบ ในห้องนั่งเล่น โทนสีก็ควรจะเป็นโทนสงบ หรือ โทนสีความสดชื่น สดใส ก็ควรจัดอยู่ในห้องทำงาน เรื่องโทนสีนั้นเป็นจิตวิทยาที่ช่วยลดสภาวะทางอารมณ์ได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งการจัดแต่งสวน  การออกแบบภายใน  ทั้งหมดนี้จะถูกกลั่นกรองและให้คุณสัมผัสความสบายใจได้โดย สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

Advertising



House and Building แบบบ้าน-แบบอาคาร

วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
แบบห้องเช่าชั้นเดียว
ห้องแถวให้เช่าชั้นเดียว2
ซื้อขายบ้านน๊อคดาวน์
ปัญหาการสร้างบ้าน
สัญญารับเหมาก่อสร้าง
ต่อเติมหลังคา
โรงงาน-โกดังสำเร็จรูป
แบบห้องเช่าสำเร็จรูป
รีสอร์ท-บ้านพักตากอากาศ
ปัญหากล้องวงจรปิด-CCTV
แบบแปลนฟรี
ขั้นตอนทาสีบ้านใหม่
การเลือกสีทาบ้าน
สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า
งบประมาณทำรั้วประตูเลื่อน
โฮมออฟฟิศสไตล์โมเดิร์น
ราคาค่าแรงผู้รับเหมาก่อสร้าง
เปรียบเทียบการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง
ใบเสนอราคาผู้รับเหมา
ใบประเมิณราคาวัสดุจากแบบแปลนห้องเช่า
รับทำโมเดล
ราคาเช่าเครื่องมือก่อสร้าง
คู่มือ ปลูกบ้าน สร้างบ้าน
ตัวอย่างงบประมาณทำรั้วกำแพง
ตัวอย่างการทำงานขุดเจาะตอกเสาเข็มหกเหลี่ยม
กำหนดวิธีจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง
วิธีทำใบเสนอราคาสำหรับงานรับเหมาก่อสร้าง
BOQ แบบรีสอร์ท สำนักงานชั้นเดียว
การติดตั้งระบบเคเบิ้ลทีวีห้องเช่า/อพาร์ทเมนต์
คำถาม? คำตอบ! งานก่อสร้าง
แบบสำเร็จรูปร้านกาแฟ สำนักงาน รีสอร์ท ห้องเช่า ห้องคาราโอเกะ
วงกบประตูหน้าต่างไม้
สร้างบ้านอย่างไรให้สวยถูกใจ
ราคาเครี่องมืออุปกรณ์ก่อสร้าง
แบบบ้านสำเร็จรูป
แบบร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุก่อสร้างและราคาค่าก่อสร้างห้องเช่า
งบประมาณก่อสร้างแยกค่าของค่าแรง
ทำธุรกิจอะไรดี..บนที่ดินว่าง
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง
แบบฟอร์มประเมิณราคาก่อสร้าง
ราคาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ค่าแรงก่อสร้าง
แบบบ้านประหยัดพลังงาน
แบบบ้านชั้นเดียว
แบบบ้านทาวน์เฮ้าส
แบบบ้านอาคารพาณิชย์
ตัวอย่างแบบแปลนห้องแถวชั้นเดียว
ตัวอย่างห้องเช่าคอนโด-อาคารชุด
แบบห้องเช่า ฟรี!